วิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ภาวะโลกร้อน (Global
Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ
ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักของปัญหานี้ มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ค่ะ (Greenhouse
gases) ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก
คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก
ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์
ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก
ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก
(ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก
โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน
น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน)
เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปีซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้
ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน
ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10 ปีนับตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2533 มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุดถึง 3 ปีคือ ปี พ.ศ. 2533, พ.ศ.2538 และปี พ.ศ. 2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า
"โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น
"ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้นจะส่งผลร้ายแรง
และต่อเนื่องต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร"
ดังนั้น
ยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น
และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือลูกหลานของพวกเราเอง
กลไกของสภาวะโลกร้อน
ในสภาวะปกติ
โลกเราจะได้รับพลังงานประมาณ 99.95 % จากดวงอาทิตย์ ในรูปแบบของการแผ่รังสี
พลังงานที่เหลือมาจากความร้อนใต้ภิพซึ่งหลงเหลือจากการก่อตัวของโลกจากฝุ่นธุลีในอวกาศ
และการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในโลก
ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มาโลกเราสามารถรักษาสมดุลย์ของพลังงานที่ได้รับอย่างดีเยี่ยม
โดยมีการสะท้อนความร้อนและการแผ่รังสีจากโลกจนพลังงานสุทธิที่ได้รับในแต่ละวันเท่ากับศูนย์
ทำให้โลกมีสภาพอากาศเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตหลากหลาย
กลไกหนึ่งที่ทำให้โลกเรารักษาพลังงานความร้อนไว้ได้ คือ "ปรากฏการณ์เรือนกระจก"
(greenhouse
effect) โดยโลกจะมีชั้นบาง ๆ ของแก๊สกลุ่มหนึ่งเรียกว่า
"แก๊สเรือนกระจก" (greenhouse gas) ที่ทำหน้าที่ดักและสะท้อนความร้อนที่โลกแผ่กลับออกไปในอวกาศให้กลับเข้าไปในโลกอีก
หากไม่มีแก๊สกลุ่มนี้ โลกจะไม่สามารถเก็บพลังงานไว้ได้ และจะมีอุณหภูมิแปรปรวนในแต่ละวัน
แก๊สกลุ่มนี้จึงทำหน้าที่เสมือนผ้าห่มบาง ๆ ที่คลุมโลกที่หนาวเย็น
การณ์กลับกลายเป็นว่าในช่วงระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา
โลกเราได้มีการสะสมแก๊สเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศมากขึ้น
เนื่องจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจกรรมประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ขุดขึ้นมาจากใต้ดิน
การเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจกทำให้โลกไม่สามารถแผ่ความร้อนออกไปได้อย่างที่เคย
ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เสมือนกับโลกเรามีผ้าห่มที่หนาขึ้นนั่นเอง
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
"ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse
effect) คือ ปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก
พลังงานแสงอาทิตย์
์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรทที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4)
และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไป
ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา
ทำให้เรารู้สึกร้อน
เรือนกระจก
ในประเทศในเขตหนาวมีการเพาะปลูกพืชโดยอาศัยการควบคุมอุณหภูมิความร้อนโดยใช้หลักการที่พลังงาน
ความร้อนจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านกระจก
แต่ความร้อนที่อยู่ภายในเรือนกระจกไม่สามารถสะท้อนกลับออกมา
ทำให้อุณหภุมิภายในสูงขึ้นเหมาะแก่การเพาะปลูกของพืช จึงมีการเปรียบเทียบปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นนี้ว่าภาวะ
เรือนกระจก(greenhouse
effect) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้
อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ CO2ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น
- การเผาไหม้เชื้อเพลิง
- การผลิตซีเมนต์
- การเผาไม้ทำลายป่า
ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก•
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ
•
มีเทน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ เช่น ขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายได้
ของเสีย อุจจาระ
•
CFC
เป็นสารประกอบสำหรับทำความเย็น พบในเครื่องทำความเย็นต่างๆ
เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกับฟรีออน และยังพบได้ในสเปรย์ต่าง ๆ อีกด้วย
•
Nitrous
Oxide (N2O) เป็นก๊าซมีพิษที่เกิดจากเครื่องยนต์
การเผาถ่านหิน และใช้ประกอบในรถยนต์เพื่อเพิ่มกำลังเครื่อง
ก๊าซเหล่านี้เช่น
CFC
จะทำปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลตและแตกตัวออกเป็นโมเลกุลคลอลีนและโมเลกุลต่างๆอีกหลายชนิด
ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้จะเป็นตัวทำลายโมเลกุลของออกซิเจนชนิดพิเศษหรือ O3 บนชั้นบรรยากาศโอโซน ทำให้รังสีอัลตราไวโอเลต
และอินฟาเรดส่องผ่านลงมายังพื้นโลกมากขึ้น
ในขณะเดียวกันก๊าซเหล่านี้ก็กันรังสีไม่ให้ออกไปจากบรรยากาศโลก
ด้วยว่าที่รังสีเหล่านี้เป็นพลังงาน พวกมันจึงทำให้โลกร้อนขึ้น
•
ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน ( HFCS)
•
ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน ( CFCS)
•
ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ ( SF6 )
ก๊าซเหล่านี้สมควรที่จะต้องลดการปล่อยออกมา
ซึ่งผู้ที่จะลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ได้ก็คือ มนุษย์ทุกคน
สาเหตุของภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่มาถึง
โดยที่เราทุกคนต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ
การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอซซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
เพื่อผลิตพลังงาน เราต่างทราบดีถึงผลกระทบบางอย่างของภาวะโลกร้อน เช่น
การละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง
การแพร่ระบาดของโรคร้ายต่างๆ อุทกภัย ปะการังเปลี่ยนสีและการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน
โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ประเทศตามแนวชายฝั่ง ประเทศที่เป็นเกาะ
และภูมิภาคที่กำลังพัฒนาอย่างเอเชียอาคเนย์จากการทำงานของคณะกรรมการของรัฐบาลนานาชาติ
ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีองค์การวิทยาศาสตร์
ได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ เฝ้าสังเกตผลกระทบต่างๆ และได้พบหลักฐานใหม่ที่แน่ชัดว่า
จากการที่ภาวะโลกร้อนขึ้นในช่วง 50 กว่าปีมานี้
ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์
ซึ่งส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นในทุกหนทุกแห่ง ประมาณ
1.4-5.8 องศาเซลเซียส
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย
แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
และมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดได้แก่
ความแห้งแล้งอย่างรุนแรง วาตภัย อุทกภัย พายุฝนฟ้าคะนอง พายุทอร์นาโด แผ่นดินถล่ม
และการเกิดพายุรุนแรงฉับพลัน จากภาวะอันตรายเหล่านี้พบว่า
ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ซึ่งได้รับผลกระทบมากกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ
ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่และช่วยเหลือเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังมีการคาดการณ์ว่า
การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ปริมาณผลผลิตเพื่อการบริโภคโดยรวมลดลง
ซึ่งทำให้จำนวนผู้อดอยากหิวโหยเพิ่มขึ้นอีก 60-350 ล้านคน
ในประเทศไทยและฟิลิปปินส์ มีโครงการพลังงานต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น
และการดำเนินงานของโครงการเหล่านี้
ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์วิทยาอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่น
การเปลี่ยนแปลงของฝนที่ไม่ตกตามฤดูกาล
และปริมาณน้ำฝนที่ตกในแต่ละช่วงได้เปลี่ยนแปลงไป
การบุกรุกและทำลายป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลและอุณหภูมิของน้ำทะเล
ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศน์วิทยาตามแนวชายฝั่ง
และจากการที่อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนสีของน้ำทะเล
ดังนั้น แนวปะการังต่างๆ จึงได้รับผลกระทบและถูกทำลายเช่นกัน
ประเทศไทยเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีชายฝั่งทะเล ที่มีความยาวประมาณ 2,490
กิโลเมตร และเป็นแหล่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
และความไม่แน่นอนของฤดูการที่ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม มีการคาดการณ์ว่า
หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 1 เมตรภายในทศวรรษหน้า
หาดทรายและพื้นที่ชายฝั่งในประเทศไทยจะลดน้อยลง สถานที่ตากอากาศชายทะเล
รวมถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เช่น พัทยา และ
ระยองจะได้รับผลกระทบโดยตรง แม้แต่กรุงเทพมหานคร
ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากผลกระทบของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นนี้เช่นกัน
ปัญหาด้านสุขภาพ
ก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง
จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วย เนื่องจากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น
ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นของยุ่งมากขึ้น
ซึ่งนำมาสู่การแพร่ระบาดของไข้มาเลเรียและไข้ส่า นอกจากนี้โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำ
เช่น อหิวาห์ตกโรค
ซึ่งจัดว่าเป็นโรคที่แพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโรคหนึ่งในภูมิภาคนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
จากอุณหภูมิและความชื้นที่สูงขึ้น คนยากจนเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อผลกระทบ
จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ประกอบกับการให้ความรู้ในด้านการดูแลรักษาสุขภาพที่ดี
ยังมีไม่เพียงพอ
ปัจจุบันนี้สัญญาณเบื้องต้นของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
ได้ปรากฏขึ้นอย่างแจ้งชัด ดังนั้น สมควรหรือไม่ที่จะรอจนกว่าจะค้นพบข้อมูลมากขึ้น
หรือ มีความรู้ในการแก้ไขมากขึ้น ซึ่ง ณ เวลานั้นก็อาจสายเกินไปแล้วที่จะแก้ไขได้
ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อน
แม้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วอุณหภูมิของโลกจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อเป็นทอด ๆ และจะมีผลกระทบกับโลกในที่สุด
ขณะนี้ผลกระทบดังกล่าวเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก ทั้งที่เป็นธารน้ำแข็ง (glaciers)
แหล่งน้ำแข็งบริเวณขั้วโลก
และในกรีนแลนด์ซึ่งจัดว่าเป็นแหล่งน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก
น้ำแข็งที่ละลายนี้จะไปเพิ่มปริมาณน้ำในมหาสมุทร
เมื่อประกอบกับอุณหภูมิเฉลี่ยของน้ำสูงขึ้น น้ำก็จะมีการขยายตัวร่วมด้วย
ทำให้ปริมาณน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ
ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมาก ส่งผลให้เมืองสำคัญ ๆ
ที่อยู่ริมมหาสมุทรตกอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลทันทีมีการคาดการณ์ว่า หากน้ำแข็งดังกล่าวละลายหมด
จะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 6-8 เมตรทีเดียวผลกระทบที่เริ่มเห็นได้อีกประการหนึ่งคือ
การเกิดพายุหมุนที่มีความถี่มากขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย
ดังเราจะเห็นได้จากข่าวพายุเฮอริเคนที่พัดเข้าถล่มสหรัฐหลายลูกในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา
แต่ละลูกก็สร้างความเสียหายในระดับหายนะทั้งสิ้น สาเหตุอาจอธิบายได้ในแง่พลังงาน
กล่าวคือ เมื่อมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานที่พายุได้รับก็มากขึ้นไปด้วย
ส่งผลให้พายุมีความรุนแรงกว่าที่เคย
นอกจากนั้น
สภาวะโลกร้อนยังส่งผลให้บางบริเวณในโลกประสบกับสภาวะแห้งแล้งอย่างอย่างไม่เคยมีมาก่อน
เช่น
ขณะนี้ได้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรงขึ้นอีกเนื่องจากต้นไม้ในป่าที่เคยทำหน้าที่ดูดกลืนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
ได้ล้มตายลงเนื่องจากขาดน้ำ นอกจากจะไม่ดูดกลืนแก๊สต่อไปแล้ว
ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากกระบวนการย่อยสลายด้วย
และยังมีสัญญาณเตือนจากภัยธรรมชาติอื่น ๆ อีกมา ซึ่งหากเราสังเกตดี ๆ
จะพบว่าเป็นผลจากสภาวะนี้ไม่น้อย
ผลกระทบด้านสุขภาพ
ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา
ภาวะโลกร้อนไม่เพียง
ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปแต่มีสิ่งซ่อนเร้นที่แอบแฝงมาพร้อม
ปรากฏการณ์นี้ด้วยว่าโลกร้อนขึ้นจะสร้างสภาวะที่พอเหมาะพอควรให้เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
เดวิท พิเมนเทล
นักนิเวศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลในอเมริกา ระบุว่าโลกร้อนขึ้นจะก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช
ที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โรคที่ฟักตัวได้ดีในสภาพร้อนชื้นของโลก
จะสามารถเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า
ทั้งจะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในโรคมาลาเรีย ไข้ส่า อหิวาตกโรค
และอาหารเป็นพิษนักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก และ London School
of Hygiene and Tropical Medicine วิทยาลัยศึกษาด้านสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนของอังกฤษ
แถลงว่า ในแต่ละปีประชาชนราว 160,000 คนเสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
ตั้งแต่โรคมาลาเรีย ไปจนถึงการขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี
และตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า
แถลงการณ์ของคณะแพทย์ระดับโลกระบุว่า
เด็กในประเทศกำลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เช่นในประเทศแถบแอฟริกา
ละตินอเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของการขาดแคลนสุขอนามัยโรคท้องร่วง
และโรคมาเลเรีย ท่ามกลางอุณหภูมิโลกร้อนขึ้น น้ำท่วม และภัยแล้ง
รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ
ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง
จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา
เนื่องจากระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไป
ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล นอกจากนี้ ในเอเชียยังมีโอกาสร้อยละ
66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง
รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ในปี 2532-2545 ประเทศไทยเกิดความเสียหาย
จากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000
ล้านบาท รายงาน " Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก
5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา
เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย
คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ
ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ
เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12
แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว
แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน
ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย
น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์
ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที
ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า ในอนาคตประชากร 500
ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป
เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้
ผลกระทบด้านนิเวศวิทยา
รัฐที่เป็นเกาะเล็ก ๆ
ของทวีปอเมริกาจะได้รับผลจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นกัดกร่อนชายฝั่ง
จะสร้างความเสียหายแก่ระบบนิเวศ แนวปะการังจะถูกทำลาย ปลาทะเลประสบปัญหา
เนื่องจากระบบนิเวศที่แปรเปลี่ยนไป
ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญจะสูญเสียรายได้มหาศาล นอกจากนี้ ในเอเชียยังมีโอกาสร้อยละ
66-90 ที่อาจเกิดฝนกระหน่ำและมรสุมอย่างรุนแรง
รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนาน ทั้งนี้ ในปี 2532-2545 ประเทศไทยเกิดความเสียหาย
จากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000
ล้านบาท รายงาน " Global Deserts Outlook" ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก
5 มิถุนายน ชี้ว่า ภายใน 50 ปีข้างหน้า ระบบนิเวศวิทยาทะเลทรายจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านชีววิทยา
เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
ปัจจุบันพืชและสัตว์ทะเลทราย
คือแหล่งทรัพยากรมีคุณค่าสำหรับผลิตยาและธัญญาหารใหม่ๆ
ที่ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองน้ำและยังมีช่องทางเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ
เช่น การทำฟาร์มกุ้งและบ่อปลาในทะเลทรายรัฐอาริโซนาและทะเลทรายเน เจฟในอิสราเอล
อย่างไรก็ตาม ทะเลทรายที่มีอยู่ 12
แห่งทั่วโลก กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ไม่ใช่เรื่องการขยายตัว
แต่เป็นความแห้งแล้งเนื่องจากโลกร้อน
ธารน้ำแข็งซึ่งส่งน้ำมาหล่อเลี้ยงทะเลทรายในอเมริกาใต้กำลังละลาย
น้ำใต้ดินเค็มขึ้น รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์
ซึ่งหากไม่มีการลงมือป้องกันอย่างทันท่วงที
ระบบนิเวศวิทยาและสัตว์ป่าในทะเลทรายจะสูญหายไปภายใน 50 ปีข้างหน้า ในอนาคตประชากร 500
ล้านคนที่อาศัยอยู่ในเขตทะเลทรายทั่วโลกจะอยู่ไม่ได้อีกต่อไป
เพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและน้ำถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนดื่มไม่ได้
แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง
ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น
และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุกทวีป
นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
ส่วนทวีปยุโรป
ยุโรปใต้ภูมิประเทศจะกลายเป็นพื้นที่ลาดเอียงเกิดความแห้งแล้งในหลายพื้นที่ปัญหาอุทกภัยจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งบนบริเวณยอดเขาสูงที่ปกคลุมด้วยหิมะจะละลายจนหมด
ขณะที่เอเชียอุณหภูมิจะสูงขึ้นเกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีน้ำท่วม
ผลิตผลทางอาหารลดลง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นสภาวะอากาศ แปรปรวนอาจทำให้เกิดพายุต่าง ๆ
มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน
ซึ่งปัจจุบันก็เห็นผลกระทบได้ชัดไม่ว่าจะเป็นใต้ฝุ่นกก
แต่แถบทวีปอเมริกาเหนืออุตสาหกรรมการผลิตอาหารจะได้รับผลประโยชน์เนื่องจากอากาศที่อุ่นขึ้น
พร้อม ๆ
กับทุ่งหญ้าใหญ่ของแคนาดาและทุ่งราบใหญ่สหรัฐอเมริกาจะล้มตายเพราะความแปรปรวนของอากาศส่งผลต่อสัตว์
นักวิจัยได้มีการคาดประมาณอุณหภูมิผิวโลกในอีก 100 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2643 ว่า อุณหภูมิจะสูงขึ้นจากปัจจุบันราว
4.5 องศาเซลเซียส เนื่องจากคาดการณ์ว่า
จะมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึงร้อยละ 63
และก๊าซมีเทนร้อยละ 27 ของก๊าซเรือนกระจก
สำหรับประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1 องศาเซลเซียส
ในช่วง 40 ปี อย่างไรก็ตามหากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2-
4 องศาเซลเซียส จะทำให้พายุไต้ฝุ่นเปลี่ยนทิศทาง
เกิดความรุนแรงและมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ในอนาคต
นอกจากนี้ ฤดูร้อนจะขยายเวลายาวนานขึ้น ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง
แล้วเราจะหยุดสภาวะโลกร้อนได้อย่างไร เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงว่าเราคงไม่อาจหยุดยั้งสภาวะโลกร้อนที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ถึงแม้ว่าเราจะหยุดผลิตแก๊สเรือนกระจกโดยสิ้นเชิงตั้งแต่บัดนี้ เพราะโลกเปรียบเสมือนเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีกลไกเล็ก ๆ จำนวนมากทำงานประสานกัน การตอบสนองที่มีต่อการกระตุ้นต่าง ๆ จะต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับเข้าสู่สภาวะสมดุล และแน่นอนว่า สภาวะสมดุลอันใหม่ที่จะเกิดขึ้นย่อมจะแตกต่างจากสภาวะปัจจุบันอย่างมากแต่เราก็ยังสามารถบรรเทาผลอันร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้ความรุนแรงลดลงอยู่ในระดับที่พอจะรับมือได้ และอาจจะชะลอปรากฏการณ์โลกร้อนให้ช้าลง กินเวลานานขึ้น สิ่งที่เราพอจะทำได้ตอนนี้คือพยายามลดการผลิตแก๊สเรือนกระจกลง และเนื่องจากเราทราบว่าแก๊สดังกล่าวมาจากกระบวนการใช้พลังงาน การะประหยัดพลังงานจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการลดอัตราการเกิดสภาวะโลกร้อนไปในตัว
การป้องกัน
ได้มีผู้แนะนำวิธีการช่วยป้องกันสภาวะโลกร้อนไว้ดังนี้
1.
การลดระยะทาง 2.
ปิดเครื่องปรับอากาศ 3.
ลดระดับการใช้งานของเครื่องใ้ชไฟฟ้า
4. Reuse 5.
การรักษาป่าไม้ 6.
ลดการใช้น้ำมัน
ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน
ส่งอาหาร
เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้นเป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ให้
เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูกในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ
การขนส่งลงได้ ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรม
ที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมากไปซัก
โดยพึงระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่า
ไฟฟ้า แต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่
ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิด
เช่น
เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงานหรือที่พักอาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ
ปิดไฟขณะไม่ใช้งานปิดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่
หรือลดจำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง
อาจลดค่าใช้จ่ายของเราไม่มากนักแต่จะส่งผลมหาศาลต่อโลก
ลดการใช้น้ำมัน
จากการขับขี่ยวดยานพาหนะ โดยปรับเปลี่ยนนิสัยการขับรถ
เช่น
ลดความเร็วในการขับรถลง ตรวจสอบสภาพลมในล้อรถให้เหมาะสม และค่อยๆ เหยียบคันเร่ง
รถยนต์เมื่อต้องการเร่งความเร็ว และทดลองเดินให้มากที่สุด
วีธีลดภาวะโลกร้อน
การลดภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องช่วยกันทำ
เราทุกคนก็ต่างมีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะเพียงแค่เราหายใจอยู่เฉยๆก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาแล้ว
ยังไม่รวมถึงกิจกรรมต่างๆมากมายที่เราทำอยู่ทุกๆวัน
ถึงเวลาที่เราต้องเลิกคิดว่าภาวะโลกร้อนไม่ใช่ธุระของเรา
แล้วหันมาร่วมมือกัน..มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อนกันเถอะ ถ้าท่านคิดว่าการลดภาวะโลกร้อนนั้นมันทำได้ยาก
หรือคิดว่าท่านคนเดียวช่วยโลกไม่ได้ หรือว่าจะทำตอนนี้มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้นแล้ว
ท่านกำลังคิดผิด!! ทุกอย่างที่เราทำจะส่งผลดีต่อโลก และมันยังมีเวลาอยู่
ถ้าไม่เริ่มที่ตัวเราก่อนก็ไม่รู้จะให้ไปเริ่มจากตรงไหน
แค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของเราทำอยู่ในวันๆหนึ่ง
ก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว ผมจะยกตัวอย่างให้ดูซัก 40 ข้อ
ผมเชื่อว่ามันใกล้ตัวทุกท่านมาก และสามารถลงมือทำได้เลยด้วยซ้ำ
40 วิธีลดภาวะโลกร้อน
|
1.
ถอดปลั๊กไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
รู้มั๊ยคะว่าการใช้ไฟฟ้าในบ้านมีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 16%
2.
หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการตากผ้าแทนการ อบผ้าในเครื่องซักผ้า
3.
การรีดผ้า ควรรีดครั้งละมาก ๆแทนการัดทีละตัว
เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า
4.
ปิดแอร์บ้าง
แล้วหันมาใช้พัดลมหรือว่าเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทมากขึ้น
5.
เวลาไปที่ห้างสรรพสินค้าอย่าเปิดประตูทิ้งไว้
เพราะแอร์จะทำงานหนักมากว่าปกติ
6.
ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์
นอกจากจะเป็นการได้ออกกำลังกายแล้วยังประหยัดได้เยอะขึ้นรู้มั้ยคะว่าการกดลิฟต์หนึ่งครั้งจะเป็นการเสียค่าไฟถึงครั้งละ
7 บาท
7.
ปิดไฟดวงที่ไม่จำเป็น โดยเปิดเฉพาะด้วยที่เราจำเป็นต้องใช้จริง ๆ
8.
ลดๆ การเล่นเกมลงบ้าง เพราะนอกจากสายตาจะเสียแล้ว ยังเปลืองไฟมาก ๆ
อีกด้วย
9.
ตู้เย็นสมัยคุณแม่ยังสาว ขายทิ้งไปได้แล้ว
เพราะกินไฟมากกว่าตู้เย็นใหม่ถึง 2 เท่า
10.
บอกคุณพ่อคุณแม่ให้เปลี่ยนไปใช้ไฟแบบหลอด LED จะได้ไฟที่สว่างกว่าและประหยัดกว่าหลอดปกติ
40%
11.
ยืดอายุตู้เย็นด้วยการไม่นำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น
และหลักเลี่ยงการนำถุงพลาสติกใส่ของในตู้เย็น
เพราะจะทำให้ตู้เย็นจ่ายความเย็นได้ไม่ทั่วถึงอาหาร
12.
ละลายน้ำแข็งที่เกาะในตู้เย็นเป็นประจำ
เพราะตู้เย็นจะกินไฟมากขึ้นเมื่อมีน้ำแข็งเกาะ
13.
ใช้รถเมล์ รถไฟฟ้าแทนการใช้รถส่วนตัว
14.
ถ้าไม่ได้ไปไหนไกล ๆ ให้ใช้จักรยาน หรือเดินไปก็ดีนะคะ
ได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วย
15.
ใช้กระดาษแต่ละแผ่นอย่างประหยัดกระดาษรียูทหนังสือพิมพ์
เพราะกระดาษเหล่านั้นมาจากการตัดต้นไม้
16.
เสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้ว เอาไปบริจาคบ้างก็ได้
เพราะในบางบริษัทมีการรับ บริจาคเสื้อที่ใช้แล้ว
จะนำไปหลอมมาทำเป็นเส้นใยใหม่อีกครั้ง ซึ่งจะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 71%
17.
ลดใช้พลาสติก โดยใช้ของที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น กระเป๋าผ้า
หรือกระติกน้ำ
18.
พยายามทานอาหารให้หมด เพราะเศษอาหารเหล่านั้นก่อให้เกิดก๊าซมีเทน
ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนต่อโลกเพิ่มขึ้น
19.
ร่วมกันประหยัดน้ำมันแบบ Car Pool เพื่อช่วยประหยัดน้ำมัน
และยังเป็นการลดจำนวนรถติดบนถนนได้อีกทางด้วยค่ะ
20.
พยายามลดเนื้อสัตว์ที่เคี้ยวเอื้องอย่าง วัว
เพราะมูลของสัตว์เหล่านั้นจะปล่อยก๊าซมีเทน
21 กินผักผลไม้เยอะๆ
เพราะอุตสาหกรรมการเกษตรไม่ปล่อยก๊าซมีเทนที่เป็นตัวเพิ่มความร้อนให้อากาศ
22.
กระดาษหนังสือพิมพ์ไม่ใช้แล้ว อย่าทิ้ง
สามารถนำมาเช็ดกระจกให้ใสแจ๋วได้
23.
ใช้เศษผ้าเช็ดสิ่งสกปรกแทนกระดาษชำระ
24.
มองหาผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น
ป้ายฉลากเขียว ประหยัดไฟเบอร์ 5 มาตรฐาน
25.
ไปตลาดสดแทนซูเปอร์มาร์เก็ตบ้าง ซื้อผัก ผลไม้ หมู ไก่ ปลา
เพราะสินค้าที่ห่อด้วยพลาสติกและโฟมนั้นจะทำให้เกิดขยะจำนวนมากมายมหาศาล
26.
ใช้น้ำประปาอย่างประหยัด เพราะระบบการผลิตน้ำประปาของเทศบาล ต่าง ๆ
ต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการทำให้น้ำสะอาด
27.
ลดปริมาณการทิ้งขยะลงบ้าง
28.
ป้องกันการปล่อยก๊าซมีเทนสู่บรรยากาศด้วยการแยกขยะอินทรีย์ เช่น
พวกเศษผักและเศษอาหารออกจากขยะอื่น ๆ
ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์
29.
บอกคุณพ่อคุณแม่ให้ขับรถความเร็วไม่เกิน 80
กม./ชม.
30.
ทาหลังคาบ้านด้วยสีอ่อน เพื่อช่วยลดการดูดซับความร้อน
31.
ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้อากาศ ปลูกไผ่แทนรั้ว
ต้นไผ่เติบโตเร็วเป็นรั้วธรรมชาติที่สวยงาม และยังดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี
อาจจะลำบากไปหน่อยแต่ก็เก๋ไม่น้อยนะคะ
33.
เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ซื้อเติมใหม่ได้
เพื่อเป็นการลดขยะจากห่อของบรรจุภัณฑ์
34.
ลดปริมาณขยะโดยใช้หลัก 3R คือ Reuse,
Recycle, Reduce
35.
ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนไม้ประดับที่บ้าน
แต่ขอให้เลือกใช้ปุ๋ยหมักจากธรรมชาติแทน
36.
ทานสเต็กและแฮมเบอร์เกอร์ในร้านใหญ่ ๆ
ให้น้อยลงบ้างเพราะอุตสาหกรรมเนื้อระดับนานาชาติผลิตก๊าซเรือนกระจกถึง 18 %
สาเหตุหลักก็คือไนตรัสออกไซด์และมีเทนจากมูลวัว
37.
มีส่วนร่วมกิจกรรมรณรงค์สิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยเผยแพร่
และการลดปัญหาโลกร้อน
38.
อยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ตามพระราชดำรัสของในหลวงนะคะ
39.
ประหยัดพลังงานเท่าที่จะทำได้ทั้งน้ำ ไฟ น้ำมัน
เพื่อให้ลูกหลานของเรามีสิ่งเหล่านี้ใช้กันต่อไปในอนาคต
40.
อย่าลืมนำวิธีดี ๆ เหล่านี้ไปบอกต่อเพื่อน ๆ ด้วยนะคะ
แบบทดสอบ
แบบทดสอบก่อนเรียน / แบบทดสอบหลังเรียน
วิกฤตการณ์ภาวะโลกร้อน
(Global Warming)
จัดทำโดย
นายวงศ์วิชญ์ กาญจนนิยม เลขที่ 3
นายกาเรท วิลเลี่ยมเอนเจล โซลี่ เลขที่ 7
นายคณัสนันท์ จิตนุ่ม เลขที่ 9
นางสาวฐิติมา ทับจันทร์ เลขที่ 18
นางสาวอาทิตยา ทองเทพ เลขที่ 19
นางสาวฐิติมา แสงอรุณ เลขที่ 23
นางสาวอินทิรา เพชรแก้ว เลขที่ 25
นางสาวพรพิมล ช่วยทอง เลขที่ 35
นางสาวศิวาลี ศรีสุวรรณ เลขที่ 39
นางสาวเบญญาภา มณีทรัพย์สุคนธ์ เลขที่ 41
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/10
เสนอ
คุณครูสุธาสินี เทพไชย
รายวิชาประวัติศาสตร์ 4 รหัสวิชา ส30104
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนสวนศรีวิทยา
อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ภาพคณะผู้จัดทำ